1.Potential Transformer (PT)
Potential Transformer (PT) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แปลงแรงดันให้ต่ำลง และมักจะมีค่าแรงดัน ตามมาตรฐานกำหนด เช่น 100, 100/√3, 115, 115/√3, 220, 220/√3, volts เป็นต้น
Potential Transformer (PT) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แปลงแรงดันให้ต่ำลง และมักจะมีค่าแรงดัน ตามมาตรฐานกำหนด เช่น 100, 100/√3, 115, 115/√3, 220, 220/√3, volts เป็นต้น
ข้อกำหนดลักษณะของ Potential Transformer
คือ
- rated primary voltage
- rated secondary voltage
- insulation level
- rated burden
- frequency
- จำนวน
phases
- accuracy class
ภาพที่ 1.1 PT ระบบ 115 เควี. ที่ใช้ในสถานีไฟฟ้า
PT ที่มีใช้งานสามารถแบ่งออกเป็นสองชนิด
1.1 Electromagnetic Type
Electromagnetic
Type จะใช้ผลของการ Induce ของสนามเหล็เพื่อใช้การแรงเคลื่อนไฟฟ้า
มีพื้นฐานและการทำงานเช่นเดียวกับหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไป ได้แก่ Voltage
Transformer ด้าน
Secondary
ภาพที่ 1.2 หลักการของ
Electromagnetic Type
1.2 Capacitor
Coupling Type
Capacitor
Coupling Type ใช้หลักการเบื้องต้นของ Voltage Divider คือมี Capacitor สองชุดต่ออนุกรมกัน ส่วนล่างจะมีค่า
Capacitance สูงกว่าส่วนบน แรงดันที่ Tap ออกจาก
Capacitor ส่วนล่างจะนำไปต่อเข้าเพื่อแปลงแรงดันให้ต่ำลงในระดับเหมาะสมกับอุปกรณ์
ได้แก่ CCVT (Coupling Capacitor
Voltage Transformers) และ CC (Coupling Capacitor)
ภาพที่ 1.3 หลักการของ Capacitor Coupling Type
2. Neutral Grounding Resistance (NGR)
ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคส่วนใหญ่
มีหม้อแปลงกำลังพิกัด 115/22 kV หรือ 115/33 kV ต่อแบบเดลต้า-วาย (Dyn11) และทางด้านทุติยภูมิต่อลงดินโดยตรง
(Solidly Grounding) เมื่อเกิดฟอลต์ แบบเฟสเดียวลงกราวด์ จะทำให้แรงดันระหว่างเฟสลดลง
จากปัญหาแรงดันตก (Voltage Dip, Voltage Sag) เมื่อเกิดฟอลต์แบบเฟสเดียวลงกราวด์
(Single Line to Ground Fault : SLG) ในระบบที่มีการต่อลงดินโดยตรง
(Solidly Grounding System) ทำให้กระแสฟอลต์มีค่าสูงมาก ส่งผลให้เกิดแรงดันตก
ภาพที่ 2.1 ไดอะแกรมเฟสเซอร์ของแรงดันในระบบต่อลงดินโดยตรง
ภาพที่ 2.2 ไดอะแกรมเฟสเซอร์ของแรงดันในระบบต่อ NGR
โดยต่อมาได้มีการเปลี่ยนระบบต่อลงดินโดยตรงเป็นแบบต่อผ่านความต้าน (NeutralGrounding Resistance: NGR) ขนาด
12.7 โอห์ม ทั้งนี้เพื่อจำกัดค่า กระแสฟอลต์ให้เหลือ 1,000 A
(ป้องกันอุปกรณ์ควบคุมการสั่งจ่ายไฟอัตโนมัติทำงานผิดพลาดจากกระแสฟอลต์สูง) และแรงดันตกไม่เกิน 20% แต่จะมีผลกระทบต่อแรงดันเฟสเทียบกับกราวด์ ในขณะเกิดฟอลต์แบบเฟสเดียวลงกราวด์
จะเกิดแรงดันเฟสเทียบกับกราวด์เกินในเฟสที่เหลือและอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบจำหน่ายเสียหายได้