ระบบไฟฟ้ากำลังสามารถที่จะให้คำจำกัดความอย่างกว้างๆ
พอที่จะสร้างความเข้าใจได้คือ “ระบบไฟฟ้ากำลัง” หมายถึง
โครงข่ายที่รวบรวมระบบและอุปกรณ์ต่างๆ
เข้าด้วยกันเพื่อทำการเปลี่ยนรูปพลังงานที่ไม่ใช่ไฟฟ้าไปเป็นพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบที่ต้องการ
และส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าด้วยระดับแรงดันไฟฟ้าสูงๆ
ไปยังแหล่งหรือระบบใช้งานในรูปโครงข่ายปิดขนาดใหญ่
ซึ่งจะแปลงพลังงานไฟฟ้าเหล่านี้ไปใช้งานในรูปของพลังงานที่ไม่ใช่ไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้ากำลังใช้งานที่ดีนั้นจะต้องคำนึงถึง
ระบบความปลอดภัยความมั่นคงแน่นอนมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าเชื่อถือ
ราคาประหยัดเหมาะสมตามหลักเศรษฐศาสตร์และผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม
โดยเป็นระบบที่เป็นที่ยอมรับของสังคมท้องถิ่น
โครงสร้างของระบบไฟฟ้ากำลัง
ไม่ว่าจะเป็นระบบเล็กหรือระบบใหญ่จะถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3
ระบบย่อยที่สำคัญ
1. ระบบผลิตกำลังไฟฟ้า
2. ระบบส่งกำลังไฟฟ้า
3. ระบบจำหน่ายกำลังไฟฟ้า
1.1 ระบบผลิตกำลังไฟฟ้า
ระบบผลิตกำลังไฟฟ้า หมายถึง
โรงไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่อย่างมากมายหลายรูปแบบและมีอยู่หลายลักษณะในปัจจุบันประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงจักรไอน้ำ โรงจักรแบบกังหันแก๊ส ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงจักรใช้ถ่านหิน
การที่เราจะพิจารณาใช้โรงไฟฟ้าแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น
สภาพแวดล้อม ทรัพยากร และระดับราคาเป็นต้น
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีระดับแรงดันตั้งแต่ระดับ 11 kV ถึง 27 kV
ซึ่งผู้ผลิตจะต้องทำการยกระดับแรงดันผ่านหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง โรงไฟฟ้าประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ
3 ส่วนดังนี้
1. ระบบผลิตกระแสไฟฟ้า
ประกอบไปด้วยตัวต้นกำลังหรือเครื่องกังหันไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
แรงดันไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจะเป็นแรงดัน 3 เฟส โดยส่วนใหญ่ไม่เกิน
20 kV เช่น
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพลผลิตที่ 13.8 kV เป็นต้น เพราะหากมากกว่า 20 kV
จะก่อให้เกิดอันตรายต่อฉนวนตัวนำและส่งผลต่ออายุการใช้งานของโรงไฟฟ้าได้
2. ส่วนลานไกไฟฟ้า หรือ Switchyard เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อส่งต่อไปยังสถานีไฟฟ้าที่อยู่ห่างไกล
ลดความสูญเสียในระบบ
ซึ่งประกอบไปด้วยหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันขึ้นและระบบป้องกันทางไฟฟ้า
3. ส่วนป้องกันการเดินเครื่องและการควบคุมไฟฟ้า
ได้แก่ การป้องกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง
และรีเลย์ตรวจจับความผิดปกติทางไฟฟ้า
ความสามารถในการผลิตจะถูกกำหนดเป็น “กิโลวัตต์” หรือ “เมกะวัตต์” ส่วนความสามารถในการผลิตหรือกำลังการผลิตที่ควบคู่ไปกับระยะเวลาในการผลิต
เรียกว่า “พลังงานไฟฟ้าที่ได้” ถ้ามองในแง่กำลังไฟฟ้าที่ผลิตนำมาใช้ควบคู่กับระยะเวลาในการใช้
เรียกว่า “พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป”
มีหน่วยเป็น “วัตต์-ชั่วโมง” หรือ “กิโลวัตต์-ชั่วโมง”
1.2 ระบบส่งกำลังไฟฟ้า
ระบบส่งกำลังไฟฟ้า
เป็นระบบที่รับพลังงานไฟฟ้าที่ถูกยกระดับแรงดันต่อจากระบบผลิตกำลังไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยนั้นจะมีระดับแรงดันตั้งแต่ระดับ
69 kV จนถึงระดับ 500 kV ซึ่งสามารถส่งพลังงานไฟฟ้าไปเป็นระยะทางที่ไกลได้โดยรักษารับแรงดันนั้นไว้ได้เนื่องจากระยะทางจากระบบผลิตกำลังไฟฟ้าจะอยู่ห่างไกลจากโหลดมาก
ระบบส่งกำลังไฟฟ้าแบ่งออกได้ดังนี้
1. ระบบไฟฟ้าเหนือศีรษะ (Over line
System)
เป็นระบบที่ซึ่งสายตัวนำบนเสาส่งผ่านที่โล่งแจ้งจากสถานีไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกสถานีไฟฟ้าหนึ่ง
ง่ายต่อการบำรุงรักษาและตรวจสอบข้อขัดข้องของระบบ
2. ระบบไฟฟ้าใต้ดิน (Under Ground Cable
System) สายตัวนำจะถูกฝังลงไปในดินตามรางเดินสาย และมีบ่อพักเป็นช่วงๆ
เหมาะสำหรับติดตั้งในที่ชุมชนหรือพื้นที่แออัด มีความต้องการพลังงานไฟฟ้า (โหลด)
สูง แต่การบำรุงรักษาทำได้ไม่สะดวกและมีราคาค่อนข้างสูงตามไปด้วย
ระบบส่งกำลังไฟฟ้ามี 3 ระดับ คือ
1. ไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage : HV) มีระดับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 230 kV.
2. ไฟฟ้าแรงสูงเอกซ์ตรา(Extra HighVoltage :EHV)มีระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 230 kV-1,000 kV
3. ไฟฟ้าแรงสูงอัลตรา(Ultra High Voltage : UHV) มีระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 kV.ขึ้นไป
ความมุ่งหมายหลักของระบบส่งกำลังไฟฟ้า
ระบบส่งกำลังไฟฟ้ามี 3 ระดับ คือ
1. ไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage : HV) มีระดับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 230 kV.
2. ไฟฟ้าแรงสูงเอกซ์ตรา(Extra HighVoltage :EHV)มีระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 230 kV-1,000 kV
3. ไฟฟ้าแรงสูงอัลตรา(Ultra High Voltage : UHV) มีระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 kV.ขึ้นไป
ความมุ่งหมายหลักของระบบส่งกำลังไฟฟ้า
1. เพื่อการส่งผ่านกำลังไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไปยังผู้ใช้หรือแหล่งจ่ายไฟ
2. ส่งกำลังไฟฟ้าไปยังศูนย์กลางการจ่ายโหลด
3. เพื่อเชื่อมโยงระบบส่งกำลังไฟฟ้าเข้าด้วยกัน
เพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ (Reliability)
และลดความสูญเสียในระบบไฟฟ้า
1.3 ระบบจำหน่ายกำลังไฟฟ้า
ระบบจำหน่ายกำลังไฟฟ้า
เป็นระบบที่รับพลังงานไฟฟ้าที่ถูกสร้างมาจากระบบผลิตกำลังไฟฟ้า
ผ่านมายังระบบส่งกำลังไฟฟ้าเพื่อทำการกระจายกำลังไฟฟ้าไปยังโหลดผู้ใช้ไฟซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือสถานีไฟฟ้าซึ่งมีหน้าที่ปรับลดระดับแรงดันให้กับผู้ใช้ไฟ
โดยส่วนใหญ่แล้วระบบจำหน่ายกำลังไฟฟ้าจะมีระดับแรงดันครอบคลุมทั้งทางด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิและสูงสุด สำหรับประเทศไทยไม่เกิน 115 kV
ระบบจำหน่ายกำลังไฟฟ้าที่ดีต้องมีการวางแผนการก่อสร้างระบบจำหน่ายกำลังไฟฟ้า
โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เช่นระดับแรงดันไฟฟ้า ชนิดวงจรการจ่ายไฟ
ตลอดจนความเหมาะสมสำหรับสถานที่ใช้งานแต่ละแห่ง
โดยชนิดวงจรการจ่ายไฟนั้นจะมีลักษณะการจัดโครงข่ายพื้นฐานสองแบบ คือ
1.3.1 แบบเส้น (Radial)
เป็นโครงข่ายที่ง่ายที่สุดโดยที่พลังงานไฟฟ้าจะไหลไปในทิศทางเดียวกันจากสถานีไฟฟ้าไปยังโหลดภาระใช้งาน
ภาพที่ 1.3 การจ่ายไฟแบบเส้น (Radial)
1.3.2 แบบลูป (Loop) เป็นโครงข่ายที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า
โดยผู้ใช้งานสามารถรับพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าหนึ่งทาง
ภาพที่ 1.3 การจ่ายไฟแบบลูป (Loop )
1.4 ระบบไฟฟ้าในประเทศไทยและหน่วยงานที่รับผิดชอบในระบบไฟฟ้ากำลัง
หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยประกอบไปด้วยหน่วยงานหลัก
3 หน่วยงาน อันได้แก่
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
กฟผ. มีอำนาจหน้าที่ในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน
โดยการผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ให้แก่ การไฟฟ้านครหลวง , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ใช้พลังงานไฟฟ้ารายอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
รวมทั้งประเทศใกล้เคียง และดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านพลังงานไฟฟ้า
ตลอดจนงานอื่นๆ ที่ส่งเสริมกิจการของ กฟผ.
อย่างไรก็ดีเพื่อให้สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น กฟผ. จึงมีหน้าที่รวมไปถึงการสร้างเขื่อน
อ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า และสิ่งอื่นอันเป็นอุปกรณ์ประกอบต่างๆ
รวมทั้งการวางแผนนโยบายควบคุมการผลิต การส่ง การจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า
และวัตถุเคมีจากลิกไนต์ ระดับแรงดันไฟฟ้าที่
กฟผ. ผลิตได้แก่ 500, 230, 115, 69, 33 และ 22 kV โดย กฟผ.
จะดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงเพื่อลดระดับแรงดันตามที่ผู้รับซื้อมีความต้องการ
ภาพที่ 1.4 การส่งจ่ายระบบไฟฟ้ากำลัง
กฟน.
มีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการด้านการจัดจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟ
โดยเป็นผู้รับซื้อพลังงานไฟฟ้าจาก กฟผ.
และผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer) มาจัดจำหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟ ภายในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
และนนทบุรี โดยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย ระบบจำหน่ายและสายส่ง
ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ใช้ไฟระดับแรงดัน 69 , 24 kV, 400 Volts และ 240 Volts
กฟภ.
มีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการด้านการจัดจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟทั้งภายในและภายนอกประเทศ
โดยเป็นผู้รับซื้อพลังงานไฟฟ้าจาก กฟผ.
และผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก มาจัดจำหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟ
โดยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ระบบจำหน่ายและสายส่ง
ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ใช้ไฟระดับแรงดัน 115, 69, 33, 22 kV, 400
Voltsและ230 Volts ข้อมูลการจำหน่ายไฟฟ้า ไตรมาส 1
ปี 2550 ดังตารางดังนี้
การจำหน่ายไฟฟ้าของประเทศ
|
การใช้ไฟฟ้า
(ล้านหน่วย)
|
สัดส่วน
(ร้อยละ)
|
หน่วยจำหน่าย กฟภ.
|
20,623
|
61.15
|
กฟน.
|
9,982
|
29.60
|
SPP
|
2,728
|
8.09
|
กฟผ.(ลูกค้าตรง)
|
390
|
1.16
|
รวมการจำหน่ายไฟฟ้าทั้งประเทศ
|
33,724
|
100.00
|